Latest Entries »

ในหมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่งมีสถานีอนามัยตั้งอยู่หน้าหมู่บ้านชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไปรักษากับพยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและขาดแคลนแพทย์นานๆครั้งจะมีแพทย์จากในเมืองมาตรวจให้กับชาวบ้าน ในตอนบ่ายมีคนไข้ชื่อ ป้าสุขมารักษาที่อนามัยแห่งนี้เขาบอกเจ้าหน้าที่ฯว่า มีอาการปวดท้อง แล้วปวดบริเวณรอบสะดือ ปวดบริเวณท้องน้อยด้านขวาและคลื่นไส้อาเจียนทันใดนั้นเจ้าหน้าที่ฯจึงนำตัวคนไข้ส่งโรงพยาบาลในเมือง        

ภารกิจ

  

1..ถ้าท่านเป็นเจ้าหน้าที่ฯท่านจะมีวิธีการรักษาอาการเหล่านี้ได้อย่างไร
2. ท่านคิดว่าอาการที่เกิดขึ้นกับป้าสุขเกิดจากสาเหตุใด จงอธิบาย
3.ให้อธิบายระบบย่อยอาหารที่ถูกต้องมาพอเข้าใจ

อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหาร
            ทำหน้าที่ในการรับและส่งอาหารโดยเริ่มจาก 
      ปาก          คอหอย         หลอดอาหาร        กระเพาะอาหาร       ลำไส้เล็ก
  ลำไส้ใหญ่        ทวารหนัก    
เมื่อรับประทานอาหารอาหารจะเคลื่อนที่ผ่านอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารเพื่อเกิดการย่อยตามลำดับดังต่อไปนี้    
      2.1    ปาก ( mouth)     มีการย่อยเชิงกล โดยการบดเคี้ยวของฟัน และมีการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์อะไมเลส 
หรือไทยาลีน ซึ่งทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบสเล็กน้อย
ต่อมน้ำลายมี 3 คู่ ได้แก่ ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น 1 คู่ ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง 1 คู่ ต่อมน้ำลายใต้กกหู 1 คู่ ต่อมน้ำลายจะผลิตน้ำลายได้วันละ     1 – 1.5 ลิตร


  2.2 คอหอย (pharynx)    เป็นทางผ่านของอาหาร ซึ่งไม่มีการย่อยใดๆ ทั้งสิ้น2.3 หลอดอาหาร(esophagus) มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อเรียบมีการย่อยเชิงกลโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาห าร เป็นช่วงๆ เรียกว่า “ เพอริสตัสซิส (peristalsis)” เพื่อให้อาหารเคลื่อนที่ลงสู่กระเพาะอาหาร

อวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร
1.  ตับ          มีหน้ามี่สร้างน้ำดีส่งไปเก็บที่ถุงน้ำดี 
 2.  ตับอ่อน      มีหน้าที่สร้างเอนไซม์ส่งไปย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก
3.  ลำไส้เล็ก     สร้างเอนไซม์มอลเทส  ซูเครสและแล็คเทสย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก

             อาการ
 
   1.จะเริ่มด้วยอาการปวดท้อง โดยเริ่มปวดบริเวณรอบๆสะดือก่อน ( บางคนเริ่มปวดบริเวณท้องน้อยด้านขวาเลย ) ต่อมาจึงย้ายมาปวดบริเวณท้องน้อยด้านขวา
   2.อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือ ถ่ายท้องร่วมด้วย
   3.ถ้าปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา อาการปวดท้องจะมากขึ้นโดยปวดทั่วท้องน้อย ( ซึ่งแสดงว่าไส้ติ่งแตกแล้ว )
         

 การรักษา
  1.หากว่ามีอาการดังกล่าวหรือสงสัยว่าจะเป็นควรรีบส่งโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ ซึ่งในระหว่างนี้ควรงดน้ำงดอาหารก่อน
 2.การรักษาในปัจจุบันที่ดีที่สุดคือการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก

โรคระบบย่อยอาหาร โรคที่เกิดจากระบบย่อยอาหาร
โรคที่เกิดจากระบบย่อยอาหารมีหลายโรค มีทั้งชนิดที่รุนแรงและไม่รุนแรง เช่น
      1.ไส้ติ่งอักเสบ
  – สาเหตุ 
      1. เกิดจากการที่มีการอุดตันของไส้ติ่ง โดยอาจจะอุดตันจาก เศษอุจจาระ พยาธิ ทำให้เกิดการเพิ่มความดันภายใจไส้ติ่ง ซึ่งต่อมาจะทำให้ไส้ติ่งบวม
 มีการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นมากขึ้นก็อาจทำให้ไส้ติ่งแตก
      2.การกินยาแก้ปวดหรือฉีดยาแก้ปวด อาจทำให้อาการปวดลดลงได้ แต่จะเป็นผลเสียกับคนไข้
เพราะจะทำให้ตรวจพบได้ช้า และกว่าจะปวดมากอีกที ไส้ติ่งอาจจะแตกแล้วก็ได้

  – ข้อแนะนำ

1.ถ้ามีอาการปวดท้องร่วมกับกดเจ็บบริเวณท้องน้อยด้านขวา ต้องนึกถึงไส้ติ่งอักเสบไว้ก่อนเสมอ2.อาจจะมีบางโรคที่มีอาการคล้ายกับไส้ติ่งอักเสบได้ เช่น ท้องนอกมดลูก นิ่วในท่อไต ลำไส้อักเสบ

2.6 ลำไส้ใหญ่ (large intestine ) ที่ลำไส้ใหญ่ไม่มีการย่อย แต่ทำหน้าที่เก็บกากอาหารและดูดซึมน้ำออกจากกากอาหาร
ดังนั้น ถ้าไม่ถ่ายอุจจาระเป็นเวลาหลายวันติดต่อกันจะทำให้เกิดอาการท้องผูก ถ้าเป็นบ่อยๆจะทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร

:: น้ำดี (bile) ::      
               
 เป็นสารที่ผลิตมาจากตับ (liver) แล้วไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี (gall bladder) น้ำดีไม่ใช่เอนไซม์เพราะไม่ใช่สารประกอบประเภทโปรตีน
น้ำดีจะทำหน้าที่ย่อยโมเลกุลของโปรตีนให้เล็กลงแล้วน้ำย่อยจากตับอ่อนจะย่อยต่อทำให้ได้อนุภาคที่เล็กที่สุดที่สามารถแพร่เข้าสู่เซลล์

2.4 กระเพาะอาหาร(stomach)   มีการย่อยเชิงกลโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหารและมีการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์เพปซิน (pepsin) ซึ่งจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นกรด 
  โดยชั้นในสุดของกระเพาะจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยซึ่งมีเอนไซม์เพปซินและกรดไฮโดรคลอริก เป็นส่วนประกอบเอนไซม์เพปซินจะย่อยโปรตีนให้เป็นเพปไทด์ (peptide)ในกระเพาะอาหารนี้ยังมีเอนไซม์อยู่อีกชนิดหนึ่งชื่อว่า“ เรนนิน ”
ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในน้ำนม ในขณะที่ไม่มีอาหาร กระเพาะอาหารจะมีขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตรแต่เมื่อมีอาหารจะมีการขยายได้อีก 10 – 40 เท่า
สรุป  :  การย่อยที่กระเพาะอาหารจะมีการย่อยโปรตีนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

2.5 ลำไส้เล็ก (small intestine) เป็นบริเวณที่มีการย่อยและการดูดซึมมากที่สุด โดยเอนไซม์ในลำไส้เล็กจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบส ซึ่งเอนไซม์ที่ลำไส้เล็กสร้างขึ้น ได้แก่
 1.มอลเทส (maltase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลมอลโทสให้เป็นกลูโคส2. ซูเครส (sucrase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลซูโครส (sucrose) ให้เป็นกลูโคสกับ ฟรักโทส (fructose)
3.แล็กเทส (lactase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลแล็กโทส (lactose) ให้เป็นกลูโคสกับกาแล็กโทส (galactose)    
การย่อยอาหารที่ลำไส้เล็กใช้เอนไซม์จากตับอ่อน (pancreas) มาช่วยย่อย เช่น
ทริปซิน (trypsin) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนโปรตีนหรือเพปไทด์ให้เป็นกรดอะมิโน
 อะไมเลส (amylase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโทส
ไลเปส (lipase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล